Last updated: 17 ธ.ค. 2566 | 3420 จำนวนผู้เข้าชม |
วัดสุวรรณคีรีวิหาร
ประวัติวัดสุวรรณคีรีวิหาร
วัดสุวรรณคีรีวิหาร เดิมมีชื่อว่าวัดสุวรรณคีรีทาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดหน้าเมือง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 8 ถนนชาติเฉลิม ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง วัดสุวรรณคีรีวิหารหรือวัดหน้าเมือง เป็นวัดแห่งแรกของจังหวัดระนอง เดิมวัดตั้งอยู่ริมคลองหาดส้มแป้น ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง แต่เนื่องจากเป็นที่ลุ่มต่ำริมคลอง ในฤดูฝนจึงเกิดน้ำท่วม ทำให้พระ-เณรต้องย้ายวัด เมื่อน้ำลดจึงกลับมาแต่ต้องเจอสภาพน้ำขุ่นไม่สามารถใช้ได้ด้วยมีการทำเหมืองแร่เหนือคลอง ทำให้วัดมีสภาพเหมือนวัดร้าง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองระนอง เมื่อวันที่ 23 เมษายน พุทธศักราช 2433 ทรงทราบเหตุการณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนเศรษฐีเจ้าเมืองระนองสมัยนั้น ดำเนินการหาที่ดินสร้างวัดขึ้นใหม่แทนวัดเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมได้แล้วพระราชทานที่เขตพระอุโบสถ ยาว 14 วา 2 ศอก กว้าง 8 วา 2 ศอก ให้เป็นทิ่วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างจากราชอาณาจักร เป็นที่วิเศษสำหรับพระสงฆ์ได้อาศัยทำสังฆกรรม และโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์จากวัดสุวรรณคีรีทาราม มาสวดถอนและผูกพัทธสีมา และพระราชทานนามว่าวัดสุวรรณคีรีวิหาร ปรากฏตามประกาศพระบรมราชโองการ ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2437
พระเจดีย์ดาธุ เป็นเจดีย์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบพม่า รูปทรงกลมยกฐานสูงจากพื้นประมาณ 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมจากฐานถึงยอดฉัตรสูงประมาณ 13 เมตร มีกำแพงโดยรอบทั้งสี่ด้านสูงประมาณ 1 เมตรแต่ละด้านของกำแพงมีประตูทางเข้ากว้างประมาณ 2 เมตร ตัวเจดีย์และกำแพงฉาบด้วยปูนทาสีขาว ส่วนยอดฉัตรของเจดีย์ทำด้วยทองเหลืองและประดับเพชรที่ฉัตรเป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า เจดีย์นี้สร้างประมาณ 100 ปี ผู้สร้างคือนางพั่วไซ่ข่าย มีสามีชื่ออูอาวเม ซึ่งเป็นโหรในราชสำนักพม่า ได้อพยพอยู่ในจังหวัดระนอง และด้วยเป็นผู้ที่ฐานะดี มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างเจดีย์นี้ถวาย โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวเพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดได้สร้างเจดีย์ถวายในพระพุทธศาสนาแล้ว จะเป็นการสร้างบุญบารมี ให้กับผู้สร้างในทุกภพทุกชาติ ปัจจุบันทายาทของท่าน รวมทั้งพุทธศาสนิกชนชาวพม่าที่ได้อพยพจากพม่ามาอยู่ที่จังหวัดระนอง จะช่วยกันความสะอาด และบูรณะสภาพโดยตลอด ทำให้พระเจดีย์มีความสวยงาม เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวระนองและนับเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง โดยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว
ศาลาร้อยปี สร้างขึ้นโดย พระศรีโลหภุมิพิทักษ์ (คอยู่ปิ๋ว ณ ระนอง) เมื่อปี พ.ศ. 2470
ต่อมา นายอุ่น - คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง เป็นผู้บูรณะและปฎิสังขรณ์ พ.ศ. 2544
โบราณสถานวัดสุวรรณคีรีวิหาร
วัดสุวรรณคีรีวิหาร เดิมมีชื่อว่า "วัดสุวรรณคีรีทาราม" ต่อมาถูกภัยธรรมชาติจึงกลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง ในเดือนเมษายน ร.ศ.109 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มีประกาศพระบรมราชโองการให้พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) ต่อมารับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นผู้จัดสร้างพระอารามขึ้นใหม่ ณ สถานที่ปัจจุบัน และได้พระราชทานนามพระอารามนี้ว่า "วัดสุวรรณคีรีวิหาร" ปรากฎตามพระบรมราชโองการ ฉบับวันที่ 2 ตุลาคม ร.ศ.113 (พ.ศ.2437)
เจดีย์ภายในวัดนั้นเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า ประกอบไปด้วยชุดฐานบัวซ้อนกัน 3 ชั้น มีซุ้มจระนำขนาดเล็กทั้ง 4 ทิศ ขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังที่ตกแต่งด้วยเส้นลูกแก้วตรงกึ่งกลาง ถัดจากองค์ระฆังขึ้นไปเป็นเส้นลูกซ้อนกันหลายชั้น ส่วนยอดทำเป็นชุดบัวคว่ำบัวหงาย แล้วปลียอดครอบด้วยฉัตร
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 33 ง วันที่ 9 เมษายน 2544 เนื้อที่เจดีย์ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวาและศาลาการเปรียญประมาณ 3 งาน 19.27 ตารางวา
Suwankiriviharn Temple
In Thai call Wat Suwankiriviharn or Wat Suwankiritharam was once abandoned temple until the reign of King Rama IV in 1891 that had visited visited western region of Siam. He had royal command to Praya Rattanasethi, former Ranong governor to establish the new monastery and given the name as "Wat Suwankiriviharn" according to The Royal Command in 2nd October 1894.
The Chedi in this temple was influenced by Burmese art. It was constructed on triplet lotus bases and four niches.
Fine Arts Department had proclaimed the registration of monument Wat Suwankiriviharn according to Fine Art Department proclamation of the extension boundary of monument in the Government Gazette no. 118, special part 33ง on 9th April 2001.
10 ก.ค. 2565
22 ส.ค. 2565
24 ส.ค. 2565
26 มิ.ย. 2567