ศูนย์วิจัยป่าชายเลน ระนอง

Last updated: 17 ธ.ค. 2566  |  1897 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศูนย์วิจัยป่าชายเลน ระนอง

ศูนย์วิจัยป่าชายเลน Mangrove Research Centre

 

          พื้นที่ชีวมณฑลระนอง (ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายฝั่งจังหวัดระนอง) 

"รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี" 

The Trees of Siam: Treasures of the Land under Roval Benevolence of His Majesty the king.

ข้อมูลโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และ ศูนย์วิจัยป่าชายเลน ต.หงาว จ.ระนอง

กลุ่มต้นโกงกางใบเล็กยักษ์ ระนอง

ชื่อสามัญ/ Common name : โกงกางใบเล็ก Kong Kang small leaves

ชื่อวิทยาศาสตร์ /Scientific name : Rhizophora apiculata Blume

ชื่อวงศ์/ Family name : RHIZOPHORACEAE

ชื่อเรียกอื่น / Other name :  โกงกาง(ระนอง) Kong Kang(Ranong), พังกาทราย (กระบี่) Pangkasai (Krabi)  พังกาใบเล็ก (พังงา) (Phang Nga Bai Lek), โกงกางใบเล็ก (ภาคกลาง) Kong Kang Bai Lek (Central)

          โกงกางใบเล็กยักษ์ต้นนี้ อยู่ในเขตแกนกลาง(core area) ของพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง(Ranong Biosphere Reserve)ในความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยป่าชายเลนระนอง เขตบ้านหาดทรายขาว ตำบลหงาว จังหวัดระนอง วัดขนาดเส้นรอบวงได้ 2.10 เมตร และความสูง 33 เมตร ลำต้นสูงใหญ่แข็งแรงมั่นคงด้วยมีรากค้ำยันแตกแขนงมากมายนับเป็นโกงกางใบเล็กต้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

          Clusters of Small - Leaf Kong Kang, Ranong

          This giant small - leaf Kong Kang is in the core area of Ranong Biosphere Reserve under the responsibility of Research Center of Ranong Mangrove Forest, Ban Had Sai Khao, Ngao sub-district, Ranong province.

           This tree measures at 2.10 metres in perimeter and 33 metres in height. The trunk is wide and high. There are many strong supporting roots.

          ป่าชายเลนแห่งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยเสด็จฯและทรงงานด้านระบบนิเวศป่าชายเลน เมื่อปี พ.ศ.2539 และด้วยป่าชายเลนแห่งนี้มีความสมบูรณ์มากที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศไทย และของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค จึงได้รับยกย่องจากองค์การ UNESCO ประกาศให้เป็น "พื้นที่สงวนชีวมณฑล" เมื่อปี พ.ศ. 2540

          ปัจจุบัน ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางราว 2 กิโลเมตร ให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ระบบนิเวศของป่าชายเลนแห่งนี้ด้วย

          In 1996, Her Royal Highness Princess Sirindhorn came to study the ecosystems at this Mangrove forest. With its fertility, the forest was proclaimed in 1997 by UNESCO as the "Reserved Biosphere" 

           Now, there is an organized route of 2 kilometres for those interested in learning about the Ecosystem of this Mangrove Forest.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นโกงกางใบเล็ก 

          ต้นโกงกางใบเล็ก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร มีรากเสริมหรือรากค้ำยันลำต้น ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเป็นสีเทา เนื้อไม้มีลักษณะเป็นมันวาว นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ฝักโดยตรง มักขึ้นในดินเลนค่อนข้างอ่อนและมีน้ำทะเลท่วมถึง บริเวณชายฝั่งริมคลองและริมแม่น้ำที่มีน้ำทะเลท่วมถึง โดยมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย เนื้อไม้สามารถใช้ทำฟืนและถ่านที่มีคุณภาพดี เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงนาน ตลอดจนนำมาใช้แปรรูปในงานก่อสร้างต่างๆ เนื่องจากมีความแข็งแรงและความเหนียว

Botanical Characteristics of the Small - Leaf Kong Kang Mangrove

          The Small - Leave Kong Kang is perennial, being 20-30 metres in height. There are additional supporting roots and a lot of branches. The bark is gray. The wood is shiny. The tree breeds from its pods. It grows well in soft muddy soil along canals and rivers withreachable sea water. The breeding regions are in India, Sri Lanka, Southeast Asia, and North Australia. The wood can be used as charcoal and firewood. It can also be used for construction because of its durable quality.

 

 

Click Here. 

What's Mangrove Forest

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้