Last updated: 17 ธ.ค. 2566 | 4877 จำนวนผู้เข้าชม |
ประภาคารกาญจนาภิเษก หรือท่าเทียบเรือศุลกากรระนอง เขานางหงส์ เป็นจุดชมวิวแม่น้ำกระบุรีที่สวยงาม และยังสามารถมองเห็นจังหวัดเกาะสอง หรือ Victoria Point ซึ่งเป็นดินแดนใต้สุดแห่งประเทศเมียนมาร์ อีกด้วย
คำจารึกบนแผ่นหิน ณ ประภาคารกาญจนาภิเษก ศุลกากรระนอง
ประวัติปูชนียบุคคลของกรมศุลกากร
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ.2487 ทหารญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญต่่างๆ ของจังหวัดระนองเพื่อจัดตั้งฐานทัพ คนไทยกลุ่มหนึ่งจึงรวมตัวกันก่อตั้ง "ขบวนการเสรีไทย" เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศไทย นายโพ เดชผล นายด่านศุลกากรระนองสมัยนั้น ได้ร่วมขบวนการโดยเป็นหัวหน้าหน่วยเสรีไทยในจังหวัดระนอง พร้อมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรจำนวนหนึ่งร่วมขบวนการ ได้แก่ นายสมจิตร พลจิตร นายเล็ก โต๊ะมีนา และนายซ้าย เพ็ชร์คุ้ม ทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือสนับสนุนด้านการข่าว รวบรวมอาสาสมัครเข้าร่วมขบวนการ โดยส่งอาสาสมัครไปฝึกและปกป้อง "เรือศุลกากร 12" มิให้ทหารญี่ปุ่นนำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ด่านศุลกากรระนอง ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นเรือ 1 ลำ คือ "เรือศุลกากร 18"
ประวัติศาสตร์ดังกล่าว นับว่าเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรระนองในอดีต ได้มีส่วนร่วมในการปกป้องจังหวัดระนอง รวมถึงปกปักรักษาอธิปไตยของประเทศไทยไว้ได้ สมควรได้รับการเชิดชูเกียรติและเพื่อเป็นอนุสติแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรรุ่นหลังในการปฎิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และการรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร ดำริให้บันทึก
นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ นายด่านศุลกากรระนอง ผู้บันทึก
"จากคำบอกเล่าของ พระราชรณังคมุนี เจ้าอาวาส วัดตะโปธาราม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และรายงานผลการปฏิบัติงานของด่านศุลกากรระนองประจำปี พ.ศ.2545 สมัยนายด่าน มงคล แสงอินทร์"
นายบุญเลิศ โชควิวัฒน
ผู้ประสานงานโครงการท่าเทียบเรือศุลกากรระนอง
กันยายน 2550
ปัจจุบัน ที่นี่เป็นท่าเรือสำคัญในการทำเอกสารผ่านแดน เพื่อเข้าสู่จังหวัดเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์
26 มิ.ย. 2567
20 ธ.ค. 2566
7 ม.ค. 2567
26 มิ.ย. 2567